ภาษีที่ดิน

29 พฤษภาคม 2556

เรื่องภาษีที่ดินนี้ เป็นบทความต่อเนื่องจากเรื่องเอกสารสิทธิ์ประเภทต่างๆ
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงอีกครั้งค่ะ

การลดหย่อน ยกเว้น หรือลดภาษีที่ดิน
1.     บุคคลธรรมดา  ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินแปลงเดียวหรือหลายแปลงที่อยู่ในจังหวัดเดียวกัน และใช้ที่ดินนั้นเป็นที่อยู่อาศัยของตน เป็นที่เลี้ยงสัตว์ของตน หรือประกอบกสิกรรมของตน ให้ลดหย่อนจำนวนเนื้อที่ 100 ตารางวา 1 ไร่ 5 ไร่ ตามข้อบัญญัติ กทม. เรื่องการลดหย่อนไม่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2525 ลงวันที่ 26 มกราคม และ กฎกระทรวง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2525 ลงวันที่ 5 มกราคม 2525 กำหนดท้องที่ชุมชนหนาแน่น มาก ปานกลาง และท้องที่ชนบท ทั้งนี้เฉพาะในจังหวัดใดจังหวัดหนึ่งแต่จังหวัดเดียว ที่ดินที่มีสิ่งปลูกสร้างเป็นสถานการค้าหรือให้เช่าไม่ได้รับการลดหย่อน กรณีบุคคลธรรมดาหลายคนเป็นเจ้าของร่วม ได้รับลดหย่อนรวมกัน (ม. 22 และข้อ 5 ของกฎกระทรวงฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2516))
2.     ผู้ว่าราชการจังหวัด ยกเว้นหรือลดภาษีที่ดินเพาะปลูกตามระเบียบ มท. ส่วนที่ดินสุสานที่ได้รับประโยชน์ตอบแทนอาจยกเว้นให้ตามกฎกระทรวง(ม.23, ม.23 ทวิ)

กระบวนการหรือขั้นตอนของการภาษีที่ดิน
1.     ผู้เสียภาษี (รวมทั้งหน้าที่ของเจ้าของที่ดิน)
        1)  เจ้าของที่ดิน คือ บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีกรรมสิทธิ์หรือครอบครองอยู่ในที่ดินที่ไม่เป็น
             กรรมสิทธิ์ของเอกชน (ม.6)
        2)  เจ้าของที่ดินในวันที่ 1 มกราคม มีหน้าที่เสียภาษีสำหรับปีนั้นจากราคาปานกลางของที่ดิน
             ตามบัญชีอัตราภาษีข้างท้าย (ม. 7)
        3)  เจ้าของที่ดินมีหน้าที่ยืนแบบแสดงรายการเป็นรายแปลง (ม.24)
        4)  ผู้มีหน้าที่เสียภาษีชำระภาษีในเดือนเมษายนของทุกปี หรือภายใน 30 วัน นับแต่วันรับแจ้ง
             (ม.35)
        5)  ผู้ใดไม่มีหน้าที่ต้องเสีย หรือเสียเกินรับเงินคืนภายใน 1 ปี นับแต่วันเสียภาษีหรือวันรับแจ้ง
             (ม.44)
        6)  เจ้าของที่ดินหรือผู้มีหน้าที่ชี้เขตและแจ้งจำนวนที่ดินตามวันเวลาที่ทำการสำรวจ (ม. 28)

2.    การยื่นแบบ
        1)  เจ้าของที่ดินยื่นแบบเป็นรายแปลง ถ้าไม่ยื่นแบบเจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินย้อน
             หลังได้ไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันทราบว่ายังไม่ยื่นแบบ และแบบแสดงรายการให้ใช้ได้ทุกรอบ
             4 ปี (ม.29, 48 ข้อ 6 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2516))
        2)  ถ้าเจ้าของที่ดินตาย  สาบสูญ  หรืออื่น ๆ  ให้ผู้จัดการหรือผู้ครอบครองทรัพย์สินหรือผู้ปก
             ครองเป็นผู้ยื่น (ม.25)
        3)  นิติบุคคลให้ผู้จัดการหรือผู้แทนยื่นแบบและเจ้าของที่ดินร่วมรับผิดชอบร่วมกันในการยื่น
             แบบ (ม.26,27)
        4)  การยื่นแบบต่อเจ้าพนักงานประเมินตาม ม.29(ข้อ 6 แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ 3(พ.ศ.2516)
        5)  เจ้าของที่ดินยื่นแบบเป็นรายแปลงตาม ม.24, 29 ในเดือนมกราคมของปีแรกที่ตีราคา
             ปานกลางที่ดินตาม ม.16 และให้ใช้ได้ทุกปีในรอบ 4 ปี ยื่นแบบต่อเจ้าพนักงานประเมินตาม
             ม.29 (ม.24, 30 และข้อ 6 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2516)


ที่มา  http://www.softbizplus.com/knowledge-management/448-different-types-of-land-documents