เอกสารสิทธิ์ที่ดิน ประเภทต่างๆ

29 พฤษภาคม 2556

           จากเหตุการณ์ที่ปรากฏตามหน้าหนังสือพิมพ์  อ้างถึงเอกสารสิทธิ์ในที่ดินแบบต่างๆ  เช่น 
โฉนด นส3.  นส3ก.  สปก.  สค1 ภบท  เป็นต้น   จึงเกิดความสนใจขึ้นมาว่าแล้วแต่ละอย่างมันคือ
อะไรล่ะ จากการเข้าไปสืบค้น  เห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์จึงขอรวบรวมไว้ในบล็อคนี้  และต้องขอขอบคุณเจ้าของเรื่องที่ได้นำมาอ้างอิงไว้ด้วยค่ะ  

             เอกสารสิทธิ์ หมายถึง เอกสารหรือหนังสือต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับที่ดิน ทั้งที่ทางราชการออก
ให้หรือที่ราษฎรทำขึ้นเองแล้วนำไปแจ้งต่อทางราชการ พอจะแบ่งประเภทเอกสารสิทธิ์ดังกล่าว
ได้ดังนี้

หนังสือแสดงสิทธิ์ที่ดิน

ออกตามประมวลกฎหมายที่ดิน  ได้แก่
1.   ใบจอง (น.ส.2) หมายความถึง หนังสือแสดงการยอมให้เข้าครอบครองที่ดินชั่วคราวเป็น
หนังสือแสดงสิทธิ์ในที่ดินที่ทางราชการออกให้ เนื่องจากการจับจองตามประมวลกฎหมายที่ดิน
แต่ยังไม่ให้สิทธิ์ครอบครองในที่ดินโดยสมบูรณ์   เพราะเป็นการอนุญาตให้ผู้จับจองที่ดินเข้าทำ
ประโยชน์เป็นการชั่วคราว   หากเห็นว่าผู้ที่เข้าครอบครองทำประโยชน์นั้นไม่ได้ทำประโยชน์ภาย
ในเวลาที่กำหนด  หรือเข้าทำประโยชน์แล้วทำประโยชน์ไม่แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด  ทาง
ราชการก็จะให้ผู้นั้นหมดสิทธิ์ในที่ดินและจะนำไปจัดให้บุคคลอื่นต่อไป    ผู้มีชื่อในใบจองจึงยัง
ไม่ใช่เจ้าของ   จะนำไปจดทะเบียนขายไม่ได้ จำนองไม่ได้   เว้นแต่การโอนทางมรดก เมื่อทำ
ประโยชน์ในใบจองเสร็จนำไปออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้แล้วแต่กรณี
สำหรับโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ออกจากใบจองต้องห้ามโอนภายใน 10ปี
(บางกรณีห้ามโอนภายใน 5 ปี หรือไม่ให้โอนเลย)
2.   หนังสือรับรองการทำประโยชน์  หมายความถึง หนังสือคำรับรองจากพนักงานเจ้าหน้าที่
ว่าได้ทำประโยชน์ในที่ดินแล้วมีเพียงสิทธิ์ครอบครอง (ไม่มีกรรมสิทธิ์) มีทั้งหมด 3 แบบ คือ
      2.1   แบบ น.ส. 3  เป็นแบบธรรมดาออกได้ในพื้นที่ทั่วไป รูปแผนที่ใน น.ส. 3  เป็นแผนที่
      รูปลอย   มีการยึดโยงเหมือนกันแต่เป็นการยึดโยงกับถาวรวัตถุ  หรือสิ่งอื่นที่พอจะหาได้ใน
      บริเวณนั้นเช่น ต้นไม้ยืนต้นที่สภาพไม่แน่นอนการหาตำแหน่งที่ตั้งของที่ดินจึงไม่แน่นอนยาก
      ต่อการตรวจ สอบการจดทะเบียนนิติกรรมแต่ละครั้งจึงต้องทำการประกาศก่อน
      2.2   แบบ น.ส. 3 ก. ออกได้เฉพาะในพื้นที่ที่ได้สร้างระวางรูปถ่ายทางอากาศแล้วเท่านั้น 
      รูปแผนที่สามารถยึดโยงได้กับระวาง  มีตำแหน่งแน่นอนไม่เหมือนกับแบบ น.ส. 3 ข้อจำกัด
      ของแบบ  น.ส. 3 ก.  ก็คือออกไม่ได้ทุกพื้นที่ พื้นที่ใดยังไม่มีระวางรูปถ่ายทางอากาศ จะ
      ออก น.ส.3 ก.ไม่ได้
      2.3   แบบหมายเลข 3 ออกได้ทุกพื้นที่  วิธีการออกเหมือนกับการออก น.ส. 3 แต่ปัจจุบัน
      ไม่มีการออกแล้ว  เพราะกรมที่ดินไม่พิมพ์ไปให้  ถ้ามีการแบ่งแยกที่ดินแปลงแยกจะออก
      เป็นแบบ น.ส.3
3.   ใบไต่สวน (น.ส.5)  หมายความถึง หนังสือแสดงการสอบสวนเพื่อออกโฉนดที่ดิน  และให้
หมายความรวมถึง ใบนำด้วย  ก่อนที่จะออกโฉนดที่ดินทุกครั้งจะต้องทำใบไต่สวนขึ้นก่อนทุกครั้ง
เพราะใบไต่สวนเป็นแบบการสอบสวน   เหตุที่กฎหมายกำหนดให้ใบไต่สวนเป็นหนังสือแสดงสิทธิ์
ที่ดินและให้จดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมในใบไต่สวนได้เช่นเดียวกับโฉนดที่ดินก็เพราะ  เมื่อสมัย
ก่อนนั้นการที่กรมที่ดิน ได้ดำเนินการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินในท้องที่ใดแล้ว เจ้าหน้าที่ของกรม
ที่ดินจะนำเรื่องการออกโฉนดที่ดินทั้งหมดกลับมาที่กรมที่ดินเพื่อเขียนโฉนดแล้วนำไปแจกโฉนด
ที่ดินให้ราษฎรภายหลัง บางครั้งใช้เวลาเป็นปีๆ ทำให้ราษฎรเดือดร้อนเพราะจะทำการโอนที่ดิน
หรือนำที่ดินไปจดทะเบียนสิทธิ์อื่นไม่ได้ เช่น  จำนองเพื่อประกันการกู้ยืมเงินเป็นต้น กฎหมายจึงกำหนดให้ใบไต่สวนเป็นหนังสือแสดงสิทธิ์ในที่ดินที่ จะจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมใด ๆ ได้เช่น
เดียวกับโฉนดที่ดิน  ดังนั้น เมื่อทางราชการได้ไปทำการเดิน สำรวจออกโฉนดที่ดินในท้องที่ใด
ทางราชการจะแจกใบไต่สวนให้ราษฎรยึดถือไว้ก่อนจนกว่าจะได้ออกโฉนดที่ดินแล้ว แต่ปัจจุบันนี้
ใบไต่สวนมีบทบาทน้อยมาก เพราะเมื่อทางราชการไปทำการเดินสำรวจออก โฉนดที่ดินในท้องที่
ใดได้เตรียมการออกโฉนดที่ดินไว้พร้อมที่จะแจกโฉนดที่ดินให้ราษฎรได้ก่อนที่จะกลับ ทางปฏิบัติ
จึงแจกใบไต่สวนพร้อมทั้งแจกโฉนดที่ดินไปในคราวเดียวกัน
                      ส่วนใบนำก็เช่นเดียวกับใบไต่สวน กล่าวคือ เมื่อเจ้าหน้าที่ไปเดินสำรวจเพื่อออก
โฉนดที่ดิน ให้เจ้าของที่ดินไปนำทำการเดินสำรวจ เมื่อเจ้าหน้าที่ได้ทำการสอบสวนเสร็จแล้วก็
ออกใบนำให้เจ้าของ  ที่ดินไว้เป็นหลักฐาน  ดังนั้น ก่อนออกโฉนดที่ดินบางสมัยก็ออกใบไต่สวน
บางสมัยก็ออกใบนำจึงจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมต่างๆ ในใบนำได้ ปัจจุบันใบนำไม่มีออก 
ที่เหลืออยู่ก็ส่วนน้อยและค่อยๆ หมดไป

4.   โฉนดที่ดิน  (น.ส.4, น.ส. 4 ก. ฯลฯ)  หมายความถึง  หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน และ
ให้หมายความรวมถึงโฉนดแผนที่ โฉนดตราจอง และตราจองที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้ว
      4.1   โฉนดที่ดิน  ออกตามประมวลกฎหมายที่ดิน การที่จะออกโฉนดที่ดินได้จะต้องเป็น
      ท้องที่ที่ได้สร้างระวางแผนที่หรือระวางแผนที่รูปถ่ายทางอากาศแล้วเท่านั้น ถ้าไม่มีจะออก
      โฉนดที่ดินไม่ได้ตำแหน่งของโฉนดที่ดินแต่ละแปลงที่ออกให้สามารถหาตำแหน่งที่ตั้งของ
      ที่ดินได้แน่นอน เพราะมีการยึดโยงกับระวางได้ ซึ่งระวางดังกล่าวสร้างจากศูนย์กำเนิด   
      ปัจจุบันศูนย์กำเนิดของระวางที่ใช้อยู่มี 29 ศูนย์ เช่น ที่กรุงเทพมหานครใช้ศูนย์กำเนิดที่
      ภูเขาทอง ที่จังหวัดนครปฐม ใช้พระปฐมเจดีย์เป็นศูนย์กำเนิด ที่เชียงใหม่ใช้ยอดเจดีย์ของ
      วัดกู่เต้าเป็นต้น แต่ปัจจุบันกรมที่ดินได้นำระวางแผนที่ระบบพิกัดจาก U.T.M. ซึ่งหาตำแหน่ง
      โดยระบบสากลมาใช้   และระบบศูนย์กำเนิดก็จะค่อย ๆ หมดไป
      4.2   โฉนดแผนที่ ออกตามประกาศออกโฉนดที่ดิน ร.ศ. 120 (พ.ศ. 2445) ซึ่งโฉนดที่ดิน
      ฉบับแรกออกที่อำเภอบ้านแป้ง อำเภอพระราชวัง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปัจจุบันคืออำเภอ
      บางปะอิน ต่อมาได้ออกเป็นพระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน ร.ศ. 127 (พ.ศ. 2452)  เหตุที่
      เรียกโฉนดแผนที่เพราะโฉนดที่ออกมีแผนที่ด้วย  ซึ่งแตกต่างจากโฉนดที่แบบเดิมซึ่งไม่มี
      แผนที่ เช่น โฉนดสวน โฉนดป่า (เพื่อประโยชน์ในการเก็บภาษี)  วิธีการออกโฉนดแผนที่
      เหมือนกับการออกโฉนดที่ดินทุกประการ หรือจะกล่าวว่าโฉนดแผนที่ก็คือโฉนดที่ดินก็ไม่ผิด
      4.3   โฉนดตราจอง  ออกตามพระราชบัญญัติออกตราจองชั่วคราว ร.ศ. 121 (พ.ศ.2446) 
      ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนนามเป็นพระราชบัญญัติออกโฉนดตราจอง ร.ศ. 124 (พ.ศ. 2449) ออก
      ในมณฑลพิษณุโลก คือ จังหวัดพิษณุโลก พิจิตร อุดรดิตถ์ และสุโขทัย ต่อมาได้มีการ  
      เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดทำให้โฉนดตราจองตกอยู่ในจังหวัดนครสวรรค์บางส่วน ปัจจุบันไม่มี
      ออก (เพราะ พ.ร.บ. ออกโฉนดตราจอง ร.ศ. 124  ถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวลกฎ
      หมายที่ดิน พ.ศ.2497) จะออกใหม่ก็เฉพาะออกเนื่องจากการแบ่งแยกโฉนดตราจองเดิม 
      แต่ปัจจุบันกรมที่ดินไม่ได้พิมพ์แบบพิมพ์โฉนดตราจองแล้ว จึงให้นำแบบพิมพ์โฉนดที่ดินมา
      ใช้แทนแล้วประทับตราว่า “โฉนดตราจอง” โฉนดตราจองเป็นหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์
      เช่นเดียวกับโฉนดที่ดิน จึงจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมต่าง ๆ ได้เช่นเดียวกับโฉนดที่ดิน
      4.4   ตราจองที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้ว ออกตราพระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน(ฉบับ
      ที่ 6) พ.ศ. 479 ออกได้ทั่ว ๆ ไปไม่จำกัดพื้นที่ เช่น โฉนดตราจอง เดิมได้มีการออกตราจอง
      ที่เป็นใบอนุญาต  เจ้าพนักงานที่ดินเป็นผู้ออกเมื่อทำประโยชน์เสร็จแล้ว  เจ้าพนักงานที่ดินจะ
      ออกตราจอง "ได้ทำประโยชน์แล้ว" ให้ ปัจจุบันไม่มีออก (เพราะ พ.ร.บ. ออกโฉนดที่ดิน 
      (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2479 ถูกยกเลิก โดย พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497) จะ
      ออกใหม่ก็เฉพาะออกเนื่องจากการแบ่งแยกตราจองฯ เดิม แต่ปัจจุบันกรมที่ดินไม่ได้พิมพ์
      แบบพิมพ์ตราจองฯ แล้ว จึงให้นำแบบพิมพ์โฉนดที่ดินมาใช้แทน แล้ว ประทับตราว่า 
      “ตราจอง” เป็นหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์เช่นเดียวกับโฉนดที่ดินจึงจดทะเบียนสิทธิ์
      และนิติกรรมต่าง ๆ ได้เช่นเดียวกับโฉนดที่ดิน

เอกสารสิทธิที่ราชการออกให้

หนังสือทั้ง 4 ประเภทนี้ไม่ใช่หนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน ผู้ที่มีแบบ ก.ส.น. 5 ก็ดี น.ค.3 ก็ดี จะต้อง
ไปขอออกหนังสือรับรองทำประโยชน์หรือโฉนดที่ดินแล้วแต่กรณี ซึ่งเมื่อออกหนังสือแสดงสิทธิ
ในที่ดินดังกล่าวแล้วจะต้องห้ามโอน 5 ปี รายละเอียด ดังนี้

.บ.ท. 5
เป็นแบบยื่นภาษีบำรุงท้องที่ ความหมายของที่ดิน ใน ภ.บ.ท. 5  หมายความว่า พื้นที่ดินและให้หมายความรวมถึงพื้นที่ที่เป็นภูเขาหรือที่มีน้ำด้วย (มาตรา 6) ซึ่งมีข้อยกเว้น ตาม (มาตรา 8) เจ้าของที่ดินไม่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องถิ่น สำหรับที่ดินต่อไปนี้
1)   ที่ดินที่เป็นที่ตั้งพระราชวังอันเป็นส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
2)   ที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน หรือที่ดินของรัฐที่ใช้ในกิจการของรัฐหรือสาธารณะ โดยมิให้หาผลประโยชน์
3)   ที่ดินของราชการส่วนท้องถิ่นที่ใช้ในกิจการของราชการส่วนท้องถิ่น หรือสาธารณะโดยมิได้หาประโยชน์
4)   ที่ดินที่ใช้เฉพาะการพยาบาลสาธารณะ การศึกษา หรือการกุศลสาธารณะ
5)   ที่ดินที่ใช้เฉพาะศาสนกิจศาสนาใดศาสนาหนึ่ง ที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของวัดไม่ว่าจะใช้ประโยชน์ศาสนกิจ ศาสนาใดศาสนาหนึ่งหรือที่ศาลเจ้าโดยมิได้หาผลประโยชน์
6)   ที่ดินที่ใช้เป็นสุสานและฌาปนสถาน สาธารณะโดยมิได้รับประโยชน์ตอบแทน
7)   ที่ดินที่ใช้ในการรถไฟ การประปา การไฟฟ้า หรือการท่าเรือของรัฐ หรือที่ใช้เป็นสนามบินของรัฐ
8)   ที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินอยู่แล้ว
9)   ที่ดินของเอกชนเฉพาะส่วนที่เจ้าของที่ดินยินยอมให้ทางราชการจัดใช้เพื่อสาธารณะประโยชน์ โดยเจ้าของที่ดินมิได้ใช้ หรือหาประโยชน์ในที่ดินเฉพาะส่วนนั้น
10) ที่ดินที่เป็นที่ตั้งที่ทำการขององค์การสหประชาชาติ หรือองค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ ที่มีข้อผูกพันยกเว้นตามอนุสัญญาหรือข้อตกลง
11) ที่ตั้งสถานทูต สถานกงสุล
12) ที่ดินตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

.ส.น. 5
เป็นหนังสือแสดงการทำประโยชน์ ซึ่งออกให้นิคมสหกรณ์ตาม พ.ร.บ. จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511การได้สิทธิในที่ดินของสมาชิกนิคมสหกรณ์ การจัดการที่ดินลักษณะนี้ กฎหมายมุ่งที่จะให้สมาชิกนิคมสหกรณ์ผู้ได้รับการจัดสรรที่ดินที่ได้รับกรรมสิทธิ์ที่ดิน (โฉนดที่ดินหรือตราจองที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้ว) หรือสิทธิครอบครอง (น.ส.3) เมื่อสมาชิกนิคมสหกรณ์นั้น ๆ ปฏิบัติตามกฎหมายไว้ คือ
1)     เมื่อสมาชิกนิคมสหกรณ์ได้ทำประโยชน์ที่ดินแล้ว
2)     เป็นสมาชิกนิคมสหกรณ์มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
3)     ชำระเงินค่าช่วยทุนรัฐบาลเรียบร้อย
4)     ชำระหนี้เกี่ยวกับกิจการของนิคมให้แก่ทางราชการเรียบร้อยแล้ว
สมาชิกนิคมสหกรณ์ที่ปฏิบัติครบตามหลักเกณฑ์ ทั้ง 4 ข้อ ดังกล่าว กรมส่งเสริมสหกรณ์จะออกหนังสือแสดงการทำประโยชน์ให้แก่สมาชิกนิคมสหกรณ์นั้น ๆ เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการที่ตนเป็นสมาชิกอยู่เมื่อได้รับอนุญาตแล้วสมาชิกนิคมสหกรณ์ผู้นั้นก็สามารถนำหลักฐานดังกล่าวไปออกโฉนดที่ดินหรือ น.ส. 3  ผู้ได้มาซึ่งที่ดินจะโอนที่ดินไปให้ผู้อื่นไม่ได้ นอกจากตกทอดทางมรดกหรือโอนไปยังสหกรณ์ที่เป็นสมาชิกอยู่ และภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ที่ดินนั้นไม่อยู่ในความรับผิดชอบแห่งการบังคับคดีด้วย

 .ค. 3  
เป็นหนังสือแสดงการทำประโยชน์ ซึ่งออกให้ในนิคมสร้างตนเองตาม พ.ร.บ. จัดที่ดิน เพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511  การได้สิทธิในที่ดินของสมาชิกนิคมสร้างตนเอง เมื่อสมาชิกได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข คือ
1)     ต้องเป็นสมาชิกนิคมสร้างตนเองมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
2)     ต้องไม่มีหนี้สินที่เกี่ยวกับกิจการนิคม
3)     ชำระเงินค่าช่วยทุนรัฐบาลเรียบร้อยแล้ว
                                    4)     ได้รับอนุญาตให้ทำประโยชน์ในที่ดินตามมาตรา 8  ตาม พ.ร.บ 
                                    จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 สมาชิกสงเคราะห์จะออกหนังสือ
                                    การทำประโยชน์ให้แก่สมาชิกนิคมสร้างตนเอง

 .ท.ก.
กรมป่าไม้ได้เริ่มดำเนินการให้สิทธิทำกิน (สทก.) ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ มานับตั้งแต่ปี 2525 ต่อมาปี พ.ศ. 2528 รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2528 กำหนดให้มีมาตรา 16 ทวิ และมาตรา 16 ตรี ขึ้นเพื่อช่วยเหลือราษฎรที่มีความจำเป็นในการครองชีพ สามารถเข้าทำกินในเขตป่าสงวนแห่งชาติได้โดยไม่เดือนร้อน และโดยมีที่อยู่เป็นหลักแหล่งซึ่งความตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นการรับรองว่าสิทธิทำกิน (สทก.) ในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่กรมป่าไม้มอบให้กับราษฎรนั้นเป็นไปตามกฎหมาย
                  การออกหนังสือ สทก.
1.   การที่จะให้ “สทก.” ในเขตป่าสงวนแห่งชาติใด ๆ กรมป่าไม้จะต้องส่งเจ้าหน้าที่ออกไปเดินสำรวจในเขตป่าสงวนแห่งชาตินั้น ๆ ว่ามีพื้นที่บริเวณใดที่ยังคงมีสภาพป่าดีอยู่ มีพื้นที่ใดที่ควรสงวนรักษาไว้มีพื้นที่ที่หมดสภาพป่าไปแล้วเป็นสภาพที่มีลักษณะเสื่อมโทรมจำนวนเท่าใด จัดทำแผนที่รายงานต่อกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ลงนามประกาศกำหนดให้บริวเณพื้นที่ที่สภาพเสื่อมโทรมดังกล่าวให้เป็น “เขตปรับปรุงป่าสงวนแห่งชาติ” แล้วกรมป่าไม้ก็จะส่งเจ้าหน้าที่ออกไปสำรวจสภาพพื้นที่เพื่อพิจารณาให้สิทธิทำกินต่อไป
2.      เมื่อกรมป่าไม้กำหนดที่จะทำการสำรวจสภาพพื้นที่ในเขตป่าใด
2.1     ประชาสัมพันธ์นัดหมายราษฎรพื้นที่มาประชุมฟังคำชี้แจงถึงหลักเกณฑ์ต่าง ๆ
2.2  ให้ราษฎรผู้ครอบครองที่ดินในเขตปรับปรุงป่าสงวนแหงชาติ ยื่นคำขอมีสิทธิทำกิน ตามเวลากำหนด โดยต้องนำบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านไปเป็นหลักฐานด้วย
2.3   เจ้าหน้าที่นัดหมายรษารผู้ยื่นคำขอแต่ละรายมานำสำรวจการถือครอบและตรวจสอบสภาพพื้นที่ หากถูกต้องตามกลักเกณฑ์และข้อกำหนดก็จำทำการรังวัดขอบเขตแปลงที่ดิน พร้อมกับฝังหลักเขตแสงดแนวแปลงที่ดิน
3.   หนังสือ “สทก.” ที่มอบให้ราษฎรจะลงนามอนุญาตโดยผู้ว่าราชการจังหวัดท้องที่ที่ป่าสงวนแห่งชาตินั้นตั้งอยู่ มีลักษณะดังนี้
แบบที่ 1    เรียกว่า “หนังสืออนุญาตให้ทำประโยชน์ และอยู่อาศัยภายในเขตปรับปรุงป่าสงวนแห่งชาติ” หรือแบบ สทก.1ก. เป็นหนังสืออนุญาตให้ครั้งแรก มีอายุการอนุญาต 5 ปี ขนาดเนื้อที่อนุญาตให้ตามที่ครอบครองอยู่จริง แต่ไม่เกิน 20 ไร่ ต่อครอบครัว ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาตเมื่อครบกำหนดการอนุญาตให้ครั้งแรก จะเปลี่ยนหนังสืออนุญาตตามแบบ สทก.2 ก
แบบที่ 2    แบบ สทก.2 ก ออกให้สำหรับผู้ที่ได้รับ สทก.1 ก มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี และปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไข กรมป่าไม้จะออกหนังสือฉบับนี้ให้เพื่อมีสิทธิทำกินในที่ดินเดิมต่อไปซึ่งไม่เกิน 20 ไร่ ต่อครอบครัว (โดยจะเรียกเก็บหนังสือ สทก.1 ก ด้วย) มีอายุการอนุญาต 5 ปี และต้องชำระค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาตให้อัตราไร่ละ 20 บาท (ต่อหนึ่งคราวการอนุญาต) เมื่อครบกำหนดก็จะมีการพิจารณาต่ออายุให้
แบบที่ 3    เรียกว่า “หนังสืออนุยษตให้ทำการปลูกป่าหรือไม้ยืนต้นภายในเขตปรับปรุงป่าสงวนแห่งชาติ” หรือ แบบ สทก.1 ข เป็นหนังสืออนุญาตที่ออกให้แก่ราษฎรผู้ที่ได้รับ สทก.1 ก หรือ สทก.2 ก ที่ครอบครองพื้นที่เกิดกว่า 20 ไร่ และมีความประสงค์จะปลูกป่าหรือไม้ยืนต้นภายในเนื้อที่ไม่เกิน 35 ไร่ ต่อครอบครัว มีอายุการอนุญาตคราวละ 10 ปี และจะต้องชำระค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาตในอัตราไร่ละ 20 บาท ทั้งนี้ราษฎรจะต้องปลูกป่าหรือไม้ยืนต้นไม่น้อยกว่าไร่ละ 25 ต้น เมื่อครบกำหนดเวลาการอนุญาตก็สามารถต่ออายุได้

หลักเกณฑ์ในการพิจารณาอนุญาตให้มีสิทธิทำกิน                     

1.   จะต้องเป็นป่าสงวนแห่งชาติที่มีลักษณะเป็นป่าสงวนแห่งชาติที่มีลักษณะเป็นป่าเสื่อมโทรมที่กรมป่าไม้ได้ส่งเจ้าหน้าที่มาสำรวจพิสูจน์แล้ว
2.   เป็นพื้นที่ที่ได้ทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยอยู่แล้ว
3.   ไม่อยู่ในพื้นที่ป่าที่มีสภาพเป็น ต้นน้ำลำธาร ภูเขาสูงชัน หรือมีสภาพที่ควรรักษาไว้
4.   ไม่เป็นป่าชายเลน
5.   ไม่เป็นพื้นที่ป่าที่ในการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการป่าไม้
6.   ไม่เป็นบริเวณที่มีทิวทัศน์สวยงามอันควรรักษาไว้
7.   ไม่เป็นพื้นที่ซึ่งได้ทำการปลูกสร้างสวนป่า หรือได้รับอนุมัติโครงการสำหรับปลูกป่าระยะ 5 ปีไว้แล้ว

คุณสมบัติของผู้ขออนุญาตมีสิทธิทำกิน

-   เป็นบุคคลธรรมดา (ไม่ใช่นิติบุคคล)
-   บรรลุนิติภาวะแล้ว และเป็นหัวหน้าครอบครัว
-   เป็นผู้ที่ได้ประโยชน์ หรืออยู่อาศัยในพื้นที่ที่ขอมีสิทธิทำกินอยู่แล้วสิทธิ
-   สามารถอยู่อาศัยและทำกินต่อไปในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โดยถูกต้องตาม
กฎหมาย
-   สิทธิทำกินตกทอดไปถึงทายาทได้
-   สามารถขออนุญาตทำไม้ที่ได้ปลูกขึ้นภายในที่ดินที่ได้รับอนุญาต (ตามแบบ สทก.1 ก หรือ สทก.2ก หรือ สทก.1ข)เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยไม่ต้องชำระค่าภาคหลวงและค่าบำรุงป่า
-   สามารถขอรับการสนับสนุนเงินทุน ในรูปของสินเชื่อเพื่อพัฒนาการเกษตร ได้จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ตามโครงการที่กรมป่าไม้ และ ธ.ก.ส. จัดทำขึ้น

หน้าที่
                   ผู้ที่ได้รับ สทก. ต้องปฏิบัตินั้นคือ ข้อกำหนดเป็นเงื่อนไขของหนังสืออนุญาตแบบต่าง ๆ ซึ่งปรากฏหลังของหนังสืออนุญาตแบบต่าง ๆ สารสำคัญคือ
1.   จะต้องทำประโยชน์ในที่ดินที่ได้รับจาก สทก. ตามวัตถุประสงค์ที่ขอไว้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด และจะให้บุคคลอื่นนอกจากบุคคลในครอบครัว เข้าทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวมิได้
2.   ห้ามซื้อ-ขายที่ดิน สทก.
3.   ห้ามละทิ้งไม่ทำประโยชน์ หรือไม่อยู่อาศัยในที่ดินที่ได้รับ สทก.
4.   ห้ามบุกรุกแผ้วถางป่าในบริเวณติดต่อใกล้เคียง
5.   ให้ความร่วมมือพนักงานเจ้าหน้าที่ มาขอตรวจสอบการปฏิบัติตามเงื่อนไขหนังสืออนุญาต สทก. หากไม่ปฏิบัติตาม “หน้าที่”หรือ ทำผิด “เงื่อนไข” จะถูกเพิกถอน “สิทธิทำกิน” โดยจะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายในกรณีใด ๆ มิได้

การตรวจสอบการปฏิบัติตามเงื่อนไข สทก.
                   กรมป่าไม้จะส่งเจ้าหน้าที่ออกมาพบประชาชนผู้ได้รับ สทก. โดยสม่ำเสมอเพื่อตรวจสอบการใช้ที่ดิน ว่าเป็นไปตามเงื่อนไขหรือไม่หากถูกต้องก็จะมี “สิทธิทำกิน” ต่อไป

 การดำเนินการในปัจจุบัน
                   ปัจจุบันกรมป่าไม้ไม่ได้มีการออก สทก. เนื่องจากขาดแคลนงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินการดังกล่าว ซึ่งเกษตรกรที่ไม่มีที่ทำกินก็จะหันไปขอเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. แทน แต่สำหรับผู้ที่ได้รับสิทธิ สทก. แต่เดิมอยู่แล้วก็ยังคงมีสิทธิอยู่ตามเดิม

การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.)
ความหมายของ “การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม” กำหนดไว้ในกฎหมายปฏิรูปที่ดินมาตรา 4 ความว่า “การปรับปรุงเกี่ยวกับสิทธิและการถือครองในที่ดินเพื่อเกษตรกรรมรวมตลอดจนถึงการจัดที่อยู่อาศัยในที่ดินเพื่อเกษตรกรรมนั้น โดยรัฐนำที่ดินของรัฐหรือที่ดินที่รัฐจัดซื้อหรือเวนคืนเจ้าของที่ดินซึ่งมิได้ทำประโยชน์ในที่ดินนั้นด้วยตนเอง หรือ มีที่ดินเกินสิทธิตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อจัดให้แก่เกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินของตนเองหรือเกษตรกรที่มีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ และสถาบันเกษตรกรได้เช่าซื้อ เช่าหรือเข้าทำประโยชน์โดยรัฐให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม การปรับปรุงทรัพยากรและปัจจัยการผลิตตลอดจนการผลิตและการจำหน่ายให้เกิดผลดียิ่งขึ้น”
การปฏิรูปที่ดินเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้เกษตรกรมีที่ดินทำกินเพื่อการเกษตรเป็นของ
ตนเองอย่างถูกต้องตามกฎหมายตลอดไปตามขนาดและความจำเป็นของเกษตรกรรมนั้น ๆ พร้อมทั้งมีการพัฒนาพื้นที่ปรับปรุง ก่อสร้างถนน แหล่งน้ำ สาธารณูปโภคต่าง ๆ และส่งเสริมอาชีพให้กับเกษตรกรเพื่อให้มีรายได้และสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยมีสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ ภายใต้ พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2519 และ(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2532 จึงเห็นได้ชัดว่าเป้าหมายสำคัญของการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม นอกจากมุ่งหมายให้เกษตรกรมีความเท่าเทียมกันด้านสิทธิและการถือครองที่ดินแล้วยังให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาอาชีพและรายได้ของเกษตรกรเพื่อให้สามารถดำรงชีพในที่ดินที่ได้รับจากการปฏิรูปที่ดินได้งานหลักของ ส.ป.ก. จึงมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ
1)     งานจัดที่ดิน โดยนำที่ดินของรัฐและที่ดินเอกชนมาให้เกษตรกรเช่า เช่าซื้อ
2)     งานพัฒนาขั้นพื้นฐาน เช่น ถนน แหล่งน้ำ เท่าที่จำเป็นในเขตปฏิรูปที่ดิน
3)     งานพัฒนาอาชีพและรายได้ของเกษตรกร
 “เกษตรกร” หมายความว่า ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก และให้หมายความรวมถึงบุคคลผู้ยากจนหรือผู้จบการศึกษาทางเกษตรกรรมหรือเป็นบุตรของเกษตรกรบรรดาซึ่งไม่มีที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นของตนเอง และประสงค์จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ตามหลักเกณฑ์และ
เงื่อนไขที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาด้วย

คุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับที่ดิน
ผู้ที่จะได้รับการจัดที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยวิธีการปฏิรูปที่ดินจะต้องเป็นเกษตรกรเท่านั้น กล่าวคือ
1.   เป็นผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก มิใช่อาชีพอื่น และต้องไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเองหรือมีเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ
2.   เป็นผู้ซึ่งประสงค์จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ได้แก่ ผู้ที่ยังไม่เป็นเกษตรกร แต่ประสงค์จะเป็นเกษตรกรและมาขอรับการจัดที่ดินโดยจะต้องเป็นผู้ที่ยากจนหรือผู้จบการศึกษาทางเกษตรกรรม หรือเป็นบุตรของเกษตรกร และต้องไม่มีที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นของตนเองและไม่มีอาชีพอื่น อันมีรายได้ประจำเพียงพอแก่การยังอาชีพอยู่แล้ว
การดำเนินการปฏิรูปที่ดินในที่ดินของรัฐ
การปฏิรูปที่ดินในที่ดินของรัฐ หมายถึง การนำที่ดินของรัฐซึ่งถูกราษฎรบุกรุกถือครองโดยไม่ถูกต้อง ตามกฎหมาย หรือที่ดินที่รัฐไม่ได้ใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์เดิมที่ได้สงวนหรือหวงห้ามไว้มาจัดให้เกษตรกรเข้าทำกินเป็นการถาวรและถูกต้องตามกฎหมาย หรือ การปฏิรูปที่ดินในที่ดินของรัฐ หมายถึง การที่ ส.ป.ก. นำที่ดินของรัฐ ได้แก่ ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เขตป่าไม้ถาวรที่เสื่อมโทรม ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดิน ที่สาธารณประโยชน์ที่ประชาชนเลิกใช้ร่วมกัน ที่ราชพัสดุ ที่กระทรวงการคลังให้ความยินยอมแล้ว ที่ดินรกร้างว่างเปล่า หรือที่ดินที่จำแนกออกจากเขตป่าไม้ถาวร นำมาจัดให้เกษตรกรเช่า เช่าชื้อ เข้าทำประโยชน์ หรือจัดให้โดยมีค่าชดเชย

เอกสารสิทธิ์ประเภทที่ราษฎรทำขึ้นเองแล้วนำไปแจ้งต่อทางราชการ

                    ซึ่งได้แก่ แบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) ซึ่งราชการประกาศให้ผู้ครอบครอง และทำประโยชน์อยู่ในที่ดินก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ (1 ธ.ค.2497) ไปแจ้งการครอบครองต่อนายอำเภอท้องที่ภายใน 180 วัน
        วิธีการแจ้งนั้น เจ้าของที่ดินจะไปขอแบบพิมพ์ ส.ค. 1 จากพนักงานเจ้าหน้าที่ แบบพิมพ์นั้นจะเป็นแผ่นมีรอยปรุตรงกลางมีข้อความเหมือนกันทั้งสองข้าง เมื่อได้แบบพิมพ์มาแล้วเจ้าของที่ดินจะกรอกข้อความเองเหมือนกันทั้งสองข้างแล้วนำไปยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่จะลงเลขรับไว้ตามหมู่ที่ ตำบล อำเภอ ที่รับแจ้งลงในทะเบียนการครอบครองที่ดินแล้วตีตราประจำต่อใน ส.ค. 1 ตรงรอยปรุแล้วฉีก ส.ค. 1 ตามรอยปรุเป็น 2ฉบับ ฉบับหนึ่งเก็บไว้ที่อำเภอ อีกฉบับหนึ่งมอบให้เจ้าของที่ดินไป ส.ค. 1
          แต่หลังจากนั้น ก็มีการแจ้ง ส.ค. 1 เรื่อยมา โดยรับแจ้งเนื่องจากได้รับการผ่อนผันแจ้งการครอบครองจากผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นการเฉพาะราย การผ่อนผันแจ้งการครอบครองได้ดำเนินการมาถึงปี พ.ศ. 2515 จึงยกเลิกมาตรา 5 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 หลังจากปี พ.ศ. 2515 จึงไม่มีการผ่อนผันแจ้งการครอบครองที่ดิน เว้นแต่บางเรื่องที่ค้างพิจารณาอยู่ที่ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้ผ่อนผันได้ภายหลังจากนั้น
           การแจ้ง ส.ค. 1 ไม่ก่อให้เกิดสิทธิขึ้นใหม่แก่ผู้แจ้งแต่ประการใด เดิมใครมีสิทธิอยู่อย่างไร เมื่อแจ้ง ส.ค. 1 แล้วก็คงมีสิทธิอยู่อย่างนั้น กล่าวคือ ถ้าเดิมใครครอบครองทำประโยชน์อยู่ในทุ่งเลี้ยงสัตว์สาธารณะ ป่าช้าสาธารณะ หรือป่าสงวน เมื่อแจ้ง ส.ค. 1 แล้วก็ยังเป็นผู้ครอบครองและทำประโยชน์อยู่ในทุ่งเลี้ยงสัตว์สาธารณะ ป่าช้าสาธารณะ หรือป่าสงวนอยู่เช่นเดิม หรือเดิมเป็นผู้เช่าที่ดินคนอื่นแม้จะนำที่ดินที่เช่าไปแจ้ง ส.ค. 1 ก็ยังคงเป็นผู้เช่าอยู่เช่นเดิม ผู้แจ้งจะอ้างสิทธิใด ๆ ขึ้นใหม่ไม่ได้ และ .ค.1 นั้นไม่ใช้เอกสารสิทธิ อันเป็นเอกสารราชการ เพราะเจ้าหน้าที่ไม่ได้ทำขึ้นจึงเป็นเพียงเอกสารธรรมดา ส.ค.1 มีเพียงสิทธิครอบครอง โอนไม่ได้ (เว้นแต่โอนโดยการส่งมอบการครอบครอง) แต่ ส.ค. 1 นำไปจดทะเบียนจำนองได้ หากแต่ผู้รับจำนองจะต้องเสี่ยงภัยเอาเองในเมื่อถึงกาลบังคับจำนองอาจจะบังคับจำนองไม่ได้โดยเหตุที่กล่าวแล้ว

ที่มา   http://www.softbizplus.com/knowledge-management/448-different-types-of-land-documents